วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ทันภัยการใช้ อินเตอร์เน็ต


                                                           ทันภัย การ ใช้ อินเตอร์เน็ต

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของประชาชนมากขึ้น การติดต่อสื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือการดำเนินต่างๆ จำเป็นต้องใช้สื่อสารสนเทศเหล่านี้ ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ บัญชีผู้ใช้ถูกแฮก การถูกบุกรุกคอมพิวเตอร์จากระยะไกล เป็นต้น โดยผู้ใช้งานอาจรับทราบถึงภัยคุกคามเหล่านี้ แต่อาจยังไม่ทราบถึงวิธีปฏิบัติหรือป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อคอมพิวเตอร์ติดไวรัสควรทำอย่างไร หากเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกแฮกควรทำอย่างไร เป็นต้น ดังนั้น บทความนี้จึงรวบรวมเอาคำแนะนำต่างๆสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามเทคโนโลยีสารสนเทศ
อย่างไรก็ตามข้อยืนยันว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ต ยังตั้งอยู่ในฝั่งของสิ่งที่ดี เช่น ทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ผลงาน และผลผลิต แต่เนื่องจากสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นสังคมที่ไม่สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงมีทั้งคนดี และคนร้าย ดังนั้นการระวังป้องกันภัย ล่วงรู้ถึงภัยที่เคยมามาในอดีตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. ภัยที่เกิดกับบุคคล
2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ


การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต

การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล

1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้
2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ
3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่  
5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน
6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย
7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน
8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง
9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน
10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา

การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส
2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น
4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง  
5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ
6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง
7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด
8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด
9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก
10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ
11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ  
12. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ถ้าไม่รู้แหล่งที่มาของ อี-เมล์









อ้างอิง จาก http://www.ictkm.info/content/category/4.html
และ จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page03_2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น