วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทรัพย์สินทางปัญญา


ทรัพย์สินทางปัญญา
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
1.ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความรู้ทั่วไปความฉลาดเกิดแต่เรียนและความคิด เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกัน ทรัพย์สินทางปัญญา จึงหมายถึงความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดมีค่าขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่การที่ผู้ใดหรือคณะบุคคลใดร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค์ จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม
2.ลิขสิทธิ์ (©) หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
3.สิทธิบัตร (อังกฤษ: patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
4.เครื่องหมายการค้า อังกฤษ: Trademark หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน
เครื่องหมายการค้าอาจมีการกำกับด้วย  หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เป็นสัญลักษณ์สากล
5.กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ 
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑  -  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 
เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ 
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท 
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท 
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ 
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
 
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง 
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้ 
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด 
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ 
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรี
มีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้งาน อิเตอร์เน็ต อย่างปลอดภัย



                  การใช้งาน อิเตอร์เน็ต อย่างปลอดภัย


การโจรกรรมข้อมูลทาง internet มีมานานหลายปีแล้ว และมีแต่แนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำไมน่ะเหรอ ก็เพราะมีคนมากมายอยู่ใน internet และจับจ่ายใช้สอยบน internet ปัจจุบันประเทศเรา
ยอดการซื้อสินค้า Online เพิ่มเป็นเท่าตัว ผู้ใช้งาน smartphone ก็เพิ่มขึ้นมากมายเช่นกัน
วันนี้เราเลยข้อเสนอ 9 วิธีง่ายๆ สำหรับการป้องกันภัยจาก Hacker ทั้งหลาย
โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ และไม่ต้องมีความรู้ทาง Computer สูงส่งอะไรเลยครับ
ดัดแปลงจาก ข้อมูลของ Voice TV สกู๊ปด้าน iT ครับ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี่ด้วย
(ไม่ได้เอาข่าวเค้ามาหรอกนะ แต่เขาจัดกลุ่มไว้แล้ว)
1 อย่าคลิ๊กสิ่งที่ส่งมาพร้อมกับ E-mail แปลกๆ
เพราะส่วนมา จะเป็นมัลแวร์
รวมทั้งบรรดา Pop-up ของเวปไซด์ด้วย โดยเฉพาะหนุ่มๆ ที่คร่ำหวอดในโลกออนไลน์
ต้องเคยโดนกันมาไม่มากก็น้อย
การโจมตี ทาง E-mail เป็นที่นิยมมานานและได้ผลเสมอ ทั้ง โทรจัน เวิร์ม และอื่นๆ
ก็ล้วนเติบโตจากเรื่องนี้ทั้งงั้นครับ หลักการก็ง่ายๆ ส่งภาพ หรือ ข้อความมา
เราจะโชคดีหน่อยเพราะมักส่งภาษาอังกฤษมา พอกดรับ กดโหลด ปุ๊ป
ก็ บรู๊ม กลายเป็นโกโก้ครั๊น ทันที
ตำนานม้าไม้โทรจัน หรือ โทรจันแห่งทรอย เป็นตำนานเก่าแก่ครับ ประมาณว่าเมืองทรอย
แข็งแกร่งมาก โจมตีเท่าไหร่ไม่สำเร็จ ศัตรูเลยเอาไม้เรือทั้งหมดไปทำเป็นม้าไม้ นัยว่าจะเป็นการ
ยอมแพ้สงครามและส่งให้เป็นการปลอบขวัญ เมื่อชักลากม้าเข้าไป ชาวเมืองต่างดีใจที่ตนชนะ
ก็ดื่มเหล้าเมามาย ที่ไหนได้ตกดึก ข้างในตัวม้ามีข้าศึกอยู่ กลศึกนี้ได้ผลเนื่องจากความทรนงตัว
ของชาวทรอย สุดท้ายเมืองทรอยก็แตกครับ ม้าไม้โทรจันเลยเป็นตัวแทนของอีเมลประเภทแฝงไวรัสไปโดยปริยาย
2. อย่าใช้ password เดียวกันมันทุกอย่าง
และเลขที่เดาได้ง่ายๆ เช่น วันเกิดคุณ ชือน้องหมาสุดที่รัก
เพราะของพวกนี้มันโชว์หราใน Facebook หมดแล้วนะ
นึกไม่ออกลองใช้ พิมพ์ำคำไทยในแป้นฝรั่งดูอาจจะช่วยได้ เช่น มิ้วๆ ก็ เป็น “,bh;qQ” เป็นต้น
3.อย่าใช้ password E-mail ซ้ำกับเมมเบอร์ เวปไซด์ที่ เราสมัครไว้
เพราะถ้าเวปนั้นถูกแฮค เราจะโดนหางเลขไปด้วย
4. เป็นไปได้อย่าซื้อสินค้าออนไลน์เลย
หรือถ้าซื้อ เน้นเฉพาะที่ไว้ใจได้ ไม่งั้นระวังจะโดนปล้นแบบออนไลน์
ในสหรัฐ มีนักโจรกรรมรหัสบัตรเครดิตพุ่งสูงขึ้นมาก หลายคนใช้วิธีการ ฟิชชิ่ง
หรือสร้างหน้าเวปปลอมให้คุณตกเป็นเหยื่อ เมื่อกรอกรหัสไป สุดท้ายก็จะสูบเงินของคุณจนหมดบัญชีง่ายๆ
เป็นไปได้หากจำเป็นจริงๆ ควรเปิดบัตรเดบิตวงเงินน้อยๆ ไว้สำหรับซื้อสินค้าครับ
อย่างผมก็ทำ จำกัดเพดานไว้ต่ำสุดของธนาคารเลย(บัตรเดบิตใช้แทนบัตรเครดิตได้นะ)
5. ข้อมูลในการแชร์ ไม่ควรส่วนตัวจนเกินไป
หลายคนมักแชร์ทุกเรื่อง ทุกอย่างใน Social network
ซึ่งเป็นช่องทางนำข้อมูลนั้นมาโจมตีคุณได้ เช่นวันเกิด
หรือ ชื่อต่างๆ ข้อมูลส่วนตัวที่คุณอาจจะเผลอตั้งเป็นรหัส Apple ID
หรือแม้แต่สถานที่ๆ คุณไปบ่อยๆ
6.  ระวังบรรดา wifi สาธารณะแบบไม่มี Pass ไว้บ้าง
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีง่ายๆ คุณอาจจะถูกดักข้อมูลจาก wifi ที่ไม่ได้เข้ารหัสเหล่านี้ก็ได้นะ
(โลกช่างโหดร้าย) ทางที่ดี ทนใ้ช้ 3G กากๆ ของพวกเราไปดีกว่าครับ
ไม่ก็ไปซื้อสินค้าตามร้านกาแฟแล้วขอรหัส wifi เค้าเลย
ดักคลื่นมือถือมันมีมาตั้งกะสมัยมาบุญครองเกิดใหม่ๆ จนป่านนี้แล้ว
ฏีกาเรื่องนี้ก็ไม่ใช่น้อยครับ ปีล่าสุดยังออกอยู่เลยว่าการโจรกรรมถือเป็นลักทรัพย์ไหม
และเราเสียหายไหม เพราะงั้นถึงจับได้ก็ใช่จะเอาผิดมันได้แน่นอนครับ
7. Mac และ iOS ก็มีไวรัสนะ
อย่าไปเชื่อบริษัท Apple เค้า แต่ที่มักพบน้อยกว่า เพราะ windows มีผู้ใช้มากกว่า
และเต็มไปด้วยสินค้าเถื่อน ให้แทรกฝังข้อมูลไปได้โดยง่าย เรียกได้ว่า รถยุโรปมันอาจจะแข็งแรง
แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่พัง เฉกเช่นเดียวกับรถญี่ปุ่น หรือรถจากอเมริกา
8. ระวังบรรดาเพื่อนแปลกๆ ใน Social network 
ไม่ใช่เห็นนมอึ๋มๆ หนุ่มๆ หล่อๆ ถอดเสื้อแล้วก็รับเป็นเพื่อนทันที
อย่างน้อยเจอแค่ แท็กโฆษณา แต่เกิดหนักๆ ขึ้นมาระวังโดน แฮกนะพี่น้อง
9. เปิดการใช้งานตัวกรอง หรือ แอนตี้ไวรัสไว้บ้าง
แม้ทำให้เครื่องช้า แต่ก็ต้องเข้าใจนะ ว่ามันจำเป็นต่อโลก
หลายท่านคงจะบอกว่าแพง ลองมองหา แอนตี้ไวรัสฟรีจริง(ที่แจกจริงไม่ใช่แคร็ก) จาก internet ได้ครับ
ส่วนลายแทงไว้โอกาสหน้าจะหามาให้ครับ



อ้างอิง จาก http://technolomo.com/2013/05/18/how-to-protect-hacker/


ทันภัยการใช้ อินเตอร์เน็ต


                                                           ทันภัย การ ใช้ อินเตอร์เน็ต

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของประชาชนมากขึ้น การติดต่อสื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือการดำเนินต่างๆ จำเป็นต้องใช้สื่อสารสนเทศเหล่านี้ ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ บัญชีผู้ใช้ถูกแฮก การถูกบุกรุกคอมพิวเตอร์จากระยะไกล เป็นต้น โดยผู้ใช้งานอาจรับทราบถึงภัยคุกคามเหล่านี้ แต่อาจยังไม่ทราบถึงวิธีปฏิบัติหรือป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อคอมพิวเตอร์ติดไวรัสควรทำอย่างไร หากเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกแฮกควรทำอย่างไร เป็นต้น ดังนั้น บทความนี้จึงรวบรวมเอาคำแนะนำต่างๆสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามเทคโนโลยีสารสนเทศ
อย่างไรก็ตามข้อยืนยันว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ต ยังตั้งอยู่ในฝั่งของสิ่งที่ดี เช่น ทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ผลงาน และผลผลิต แต่เนื่องจากสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นสังคมที่ไม่สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงมีทั้งคนดี และคนร้าย ดังนั้นการระวังป้องกันภัย ล่วงรู้ถึงภัยที่เคยมามาในอดีตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. ภัยที่เกิดกับบุคคล
2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ


การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต

การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล

1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้
2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ
3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่  
5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน
6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย
7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน
8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง
9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน
10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา

การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส
2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น
4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง  
5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ
6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง
7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด
8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด
9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก
10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ
11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ  
12. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ถ้าไม่รู้แหล่งที่มาของ อี-เมล์









อ้างอิง จาก http://www.ictkm.info/content/category/4.html
และ จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page03_2.htm

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่อง : บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต


World Wide Web (WWW) (เวิลด์ไวด์เว็บ )
                     เวิลด์ไวด์เว็บ บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และเสียง ทั้งภาพแบบสองและสามมิติ รวมทั้งภาพเคลื่อนไหวอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกใช้ผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว
1. เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร 
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น
หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ
มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ 
ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

2. จุดเริ่มต้นของเวิลด์ไวด์เว็บ 
ปี ค.ศ. 1990 ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งสถาบัน CERN (Center
European pour la Recherche Nucleaire) แห่งกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
(เวบไซต์ของ CERN ติดต่อที่ http://www.cern.ch)
ได้คิดค้นวิธีการถ่ายทอดเอกสารข้อมูลที่อยู่ในแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( hypertext)
ซึ่งเป็นเอกสารที่นำเสนอทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในแต่ละหน้า
สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ มานำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
เอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์นี้ เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ เรียกว่า
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) 
เอกสารข้อมูลที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML นี้ ต้องใช้โปรโตคอลแบบพิเศษ ชื่อ HTTP
(Hypertext Transport Protocol) ช่วยในการสื่อสาร และรับส่งข้อมูล
ขณะเรียกใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ในระบบอินเทอร์เน็ต 
ในปี ค.ศ. 1993 สถาบัน NCSA (National Center for Supercomputing Application)
แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้พัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (web browser) ชื่อ
Mosaic ขึ้นมา ทำหน้าที่แปลคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในรูปของเอกสาร HTML
ให้แสดงที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อย่างสวยงาม น่าดู 
อย่างที่เราพบเห็นบนในปัจจุบัน โปรแกรม Mosaic ถูกแจกจ่าย
ออกไปให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จืงได้กลายมาเป็น โปรแกรมยอดนิยมไปทันที 
หลังจากนั้นมา บริษัทซอฟแวร์ชั้นนำต่าง ๆ จึงเริ่มพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อื่น ๆ
ออกจำหน่ายจ่ายแจก แก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก 
ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกหาโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ มาใช้งานได้หลายโปรแกรม 
นอกจากจะใช้บริการดูข้อมูลจากเวิลด์ไวด์เว็บ แล้ว หลายโปรแกรมยังมีความสามารถอื่น ๆ
ด้วย เช่น บริการสื่อสารด้วย E-mail การค้นข้อมูลแบบ Gopher การถ่ายโอนไฟล์ด้วย ftp
เป็นต้น โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ได้เปลี่ยนโฉมหน้า การใช้ บริการอินเทอร์เน็ตในแบบเก่า ๆ
ที่มีแต่ตัวอักษร ไปเป็นหน้าจอที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันและรูปภาพ 
และทำให้ผู้สามารถเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่าเดิมมาก


การค้นข้อมูลโดยใช้ search engine

อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กำลังมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยมีขอบข่ายเชื่อมโยงเกือบทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้ยังเป็นเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเตอร์เน็ตประกอบด้วย 
เครือข่ายย่อยจำนวนมาก เชื่อมเข้าด้วยกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นเสมือนขุมทองแห่งใหม่เพราะเป็นที่รวมของข้อมูลข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ทำให้โลกที่กว้างใหญ่ไพศาลแคบเข้ามาอีก ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมาย ทั้งทางด้านการศึกษา การบันเทิง การติดต่อสื่อสารทางจดหมาย การซื้อของ หรือสนุกกับการมีเพื่อนใหม่บนอินเตอร์เน็ต บริการค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยใช้ search engine ก็เป็นอีกบริการหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต (Internet) ที่เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เราต้องการได้ 


การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี 
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory 
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 

                                    การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine

ถ้าเราต้องการค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต แล้วทราบที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ๆ เราสามารถพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ลงในช่อง address ได้เลย แต่ถ้าไม่ทราบว่าข้อมูลนั้น ๆ มีอยู่ในเว็บไซต์ใด ก็ต้องค้นหาด้วย search engine มีขั้นตอน ดังนี้ 
1 .เข้าสู่โปรแกรมอินเตอร์เน็ต ในที่นี้เข้าโปรแกรม Internet Explorer 
2. เข้าเว็บให้บริการ search engine 
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการค้นหาใส่ลงในช่อง search แล้วคลิกที่ค้นหา หรือ search หรือกด enter 
4. โปรแกรมจะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ของข้อมูลที่ค้นหา 
5. คลิกเม้าส์ไปที่ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการ จะพบข้อมูลที่เราค้นหา
ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine

                คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง