วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ


ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ



1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา


– กำหนดขอบเขตของปัญหา

– กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ
(Input/Output Specification )
– กำหนดวิธีการประมวลผล (Process Specification)

ตัวอย่างที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา             

วิธีประมวลผล

กำหนดวิธีการคำนวณ
ค่าจ้างสุทธิ = จำนวนชั่วโมง X อัตราต่อชั่วโมง
ขั้นตอนการประมวลผล
1. เริ่มต้น
2. รับรหัสพนักงาน,ชื่อพนักงาน,จำนวนชั่วโมงทำงาน,ค่าจ้างรายชั่วโมง
3. คำนวณ ค่าจ้างสุทธิ =House x PayRate
4. แสดงผลลัพธ์ เป็นรหัสพนักงาน ชื่อ และค่าจ้างสุทธิ
5. จบการทำงาน

2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี

หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบโปรแกรม โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่าอัลกอริทึม(Algorithm)โดยจะเขียนแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา ด้วยประโยคที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ และมีรายละเอียดการทำงานพอสมควรเพียงพอที่จะนำไปเขียนเป็นโปรแกรมให้ทำงานจริง โดยอัลกอริทึมนั้นอาจเขียนให้อยู่ในรูปของรหัสจำลองหรือซูโดโค้ด (Pseudo-code)หรือเขียนเป็นผังงาน (Flowchart) ก็ได้

 

การเขียนผังงาน

ผังงานเป็นแผนภาพที่แสดงลำดับขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม โดยมีการลงรายละเอียด ใส่วิธีการ และจัดลำดับขั้นตอนของโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มต้นจากการรับข้อมูล การประมวลผล ไปจนถึงการแสดงผลลัพธ์การทำงาน

 

การเขียนโปรแกรม

เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้อยู่ในรูปรหัสภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนตามภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจโดยอาจใช้ภาษาระดับสูง หรือระดับต่ำซึ่งสามารถเลือกได้หลายภาษา การเขียนโปรแกรมแต่ละภาษาจะต้องทำตามหลักไวยากรณ์ (syntax) ที่กำหนดไว้ในภาษานั้น

 

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

หลังจากเขียนโปรแกรมจะต้องทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่เขียนขึ้น หาจุดผิดพลาดของโปรแกรมว่ามีหรือไม่ จุดผิดพลาดของโปรแกรมนี้เรียกว่าบัก (Bug) ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้องเรียกว่า ดีบัก(debug)

 


3.การดำเนินการแก้ปัญหา(Implementation)

หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

4.การตรวจสอบและปรับปรุง  ( REFINEMENT )



    หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น